CMU:BANCHUAN

ไข้เลือดออก ปีนี้ที่พื้นที่ของเรามีแนวโน้มระบาดรุนแรงกว่าทุกปี

จากการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ในปี 2551 มีแนวโน้มการระบาดของโรคไข้เลือดออกสูงมาก เพราะในปี 2548-2550 ศูนย์แพทย์ชุมชนบ้านชวนมีการระบาดในอัตรา 20 ต่อแสนประชากร มีคนไข้เฉลี่ยปีละ 2 ราย แต่ในปีนี้เจ้าหน้าที่ได้แกสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลาย พบว่าค่า HI>60 ทุกหมู่บ้าน และประกอบกับสถิติการระบาดของดรคพบว่าจะระบาด 3 ปีครั้งดังนั้นในปี 2551 นี้จึงมีแนวโน้มระบาดอย่างรุนแรง

   ไข้เลือดออก ต้องมีการวางแผนตั้งแต่ต้นปี ในภาพเจ้าหน้าที่พยาบาล คุณชุติมา (หมอเชื่อม) กับทีมงานได้ออกรณรงค์ให้ความรู้ ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในพื้นที่

 

 การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

 ภาพการจัดทำแผนงานควบคุมป้องกันโรคร่วมกับโรงพยาบาลบำเหน็จณรงค์ เพื่อหามาตรฐากรและแนวทางในการควบคุมป้องกันโรค

การสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำเป็นกิจกรรมหลักที่ต้องดำเนินการ ในภาพพบว่าภาชนะนี้มีลูกน้ำจำนวนมากอาศัยอยู่ วิธีที่ดีที่สุดคือ บอกเจ้าบ้านให้ทำความสะอาดและทำลายภาชนะที่ไม่ใช้

การร่วมมือกับเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมป้องกันโรคในท้องถิ่น เช่นการสร้างพลังชุมชน การจัดซื้อทราย ปลากินลูกน้ำ รวมถึงการพ่นเคมีแบบละอองฝอยและหมอกควัน

 สสอ.บำเหน็จณรงค์
ให้ความรู้แก่นักเรียน

 นายกสุริยา ฉิมพาลี นายกเทศบาลตำบลบำเหน็จณรงค์ มอบรางวัลให้นักเรียนในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

 ทีมเทศบาลเตรียมพ่นยุงโดยใช้เครื่องพ่นหมอกควัน

 พ่นแบบนี้ ไข้เลือดออก จะมีอีกรึเปล่า ?

เรื่อง ค่าตอบแทน อสม.เดือนละ 600 บาท

สธ.พร้อมจ่ายค่าตอบแทนให้อสม.600บ./เดือน

นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความคืบหน้าของการจ่ายค่าตอบแทนให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทั่วประเทศ หรือ อสม. ตามนโยบายรัฐบาลในอัตราเดือนละ 600 บาท ว่า ค่าตอบแทนดังกล่าวเป็นการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการทำงานของอสม. ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง ซึ่งตลอด 30 ปีที่ผ่านมา อสม. ได้เสียสละทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนอย่างใด ในการเตรียมการจ่ายค่าตอบแทนให้ อสม. นั้น จะเร่งให้ทันวันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ ซึ่งตรงกับวันที่ 20 มีนาคม 2552 เพื่อมอบเป็นของขวัญ ให้อสม.มีกำลังใจทำงานช่วยเหลือภาครัฐแก้ไขปัญหาสาธารณสุข โดยได้มอบหมายให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ดำเนินการเร่งด่วนใน 3 เรื่องดังนี้    ประการแรก ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ดำเนินการสำรวจ และคัดเลือก อสม. ที่มีความตั้งใจทำงานอย่างจริงจัง มาขึ้นทะเบียน อสม. ให้ครอบคลุมเพียงพอในการดูแลประชาชนทุกหลังคาเรือน และกำหนดบทบาทให้ชัดเจน ประการที่ 2 พัฒนาศักยภาพของ อสม. ให้มีขีดความสามารถการทำงานสูงขึ้น โดยเฉพาะการรณรงค์สร้างสุขภาพ
และประการที่ 3 ให้สถานีอนามัยทั่วประเทศ จัดประชุมชี้แจงแนวทางการทำงานตามนโยบายรัฐบาล และรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของ อสม. เพื่อนำข้อมูลมาจัดทำเป็นร่างพระราชบัญญัติ หรือประกาศกระทรวงที่เกี่ยวกับอาสาสมัครสาธารณสุข มีการกำหนดบทบาทและภารกิจในการดูแลสุขภาพประชาชนที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถจ่ายค่าตอบแทน อสม.ได้ โดยจะเร่งดำเนินการและเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีโดยเร็วที่สุด คาดว่าจะดำเนินการจ่ายค่าตอบแทนได้ในปลายเดือนมีนาคม 2552
นายวิทยา กล่าวว่า นโยบายในการพัฒนาสุขภาพประชาชนของรัฐบาลชุดนี้ จะเน้นหนักการสร้างสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพ และการเจ็บป่วยเรื้องรัง โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน โดยจะให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรืออสม. มีบทบาทสำคัญในการสร้างความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของประชาชนตามหมู่บ้าน ชุมชนทั่วประเทศ และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อกลับไปทำงานชดใช้ทุนในท้องถิ่น
ทางด้านนายแพทย์สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า ขณะนี้ ทั่วประเทศมี อสม. กว่า 830,000 คน อสม. 1 คนดูแลประชาชน 10-15 หลังคาเรือน ในการทำงานของอสม.นั้น จะให้ทำงานร่วมกับสถานีอนามัยซึ่งมีครบทุกตำบล โดยในรอบ 2 ปีมานี้กระทรวงสาธารณสุขได้พัฒนาศักยภาพ อสม.ใน 2 เรื่อง
ได้แก่ ด้านวิชาการ ได้เพิ่มความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อ เน้นหนักที่เป็นปัญหา 3 อันดับแรกของคนไทย ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งจะเน้นให้ อสม.รณรงค์ปรับพฤติกรรมการออกกำลังกาย การกินอาหาร ในปีนี้จะเร่งอบรมศักยภาพเพิ่มอีก 3 เรื่อง ได้แก่ การป้องกันการคลอดก่อนกำหนด การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน และ2. ด้านการจัดทำแผนงาน/โครงการสร้างสุขภาพชุมชน เพื่อของบประมาณจากอบต. ซึ่งมั่นใจว่าตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2552 นี้ อสม.ทุกหมู่บ้านจะเริ่มทำงานตามโครงการที่จัดทำไว้และนโยบายของรัฐบาล


( 09-01-2009 ) 15:18:01แหล่งข่าว กรุงเทพธุรกิจ